“ดร.วิเชียร” นายกสภาทนายความคนใหม่ ลั่นช่วยประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม
ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เตรียมเข้ารับตำแหน่ง ประกาศนโยบายชัดเจน ช่วยเหลือประชาชนที่ยากไร้และไม่ได้รับความเป็นธรรมต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน พร้อมนำยุทธศาสตร์ 5 ป. คือปกป้อง ปรับปรุง โปร่งใส เปิดกว้าง ประสิทธิภาพ และนโยบาย 6 ด้าน 30 ข้อ มาเป็นหลักในการบริหารงานของสภาทนายความ และพร้อมให้การช่วยเหลือด้านสวัสดิการทนายความทั่วประเทศ อย่างเป็นระบบ
เมื่อวันศุกร์ที่ 9 กันยายน 2565 ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ เตรียมเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ โดยถือฤกษ์ดี วันที่ 9 เดือน 9 เพื่อเตรียมเข้ารับมอบงานต่อจาก ดร.ถวัลย์ รุยาพร นายกสภาทนายความฯ ที่หมดวาระลง
นายกสภาทนายความคนใหม่ได้แถลงข่าวถึง เรื่องบทบาทสภาทนายความยุคใหม่กับการให้ความช่วยเหลือ และการอำนวยความยุติธรรมทางด้านกฎหมายแก่ประชาชน ดร.วิเชียร ชุบไธสง ได้กล่าวว่าสภาทนายความ คือหนึ่งเสาหลักที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมซึ่งเป็นเสาหลักที่อำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ดังนั้นสภาทนายความจะดำเนินการให้การช่วยเหลือประชาชนทางด้านกฎหมายเชิงรุกสำหรับการให้บริการประชาชนโดยการยกมาตรฐานด้านวิชาชีพซึ่งจะจัดให้มีการพัฒนาทนายความชำนาญการเฉพาะทาง 36 หลักสูตร รวมทั้งการจัดอบรมด้านวิชาการต่างๆให้แพร่หลายมากขึ้น
ส่วนการให้การช่วยเหลือประชาชนที่ยากไร้และไม่ได้รับความเป็นธรรมนั้น จะดำเนินการให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ซึ่งจะดำเนินการ 3 แนวทาง ได้แก่
- แนวทางที่หนึ่ง ในเชิงปกป้องจะดำเนินการเผยแพร่ความรู้ให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งข้อมูลทางกฎหมาย
- แนวทางที่สอง เมื่อเกิดปัญหาที่จำเป็นต้องพึ่งทนายความอาสา หรือทนายความขอแรง หรือที่ปรึกษากฎหมายเด็กหรือเยาวชน ทนายความในส่วนนี้จะต้องเข้าไปอำนวยความยุติธรรมอย่างเต็มที่ตามแนวทางการปฏิรูปทนายความอาสา ทนายความขอแรง และที่ปรึกษากฎหมายเด็กหรือเยาวชน ของรัฐ
- แนวทางที่สาม การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อทำการศึกษาว่ากฎหมายใดที่เป็นการริดรอนสิทธิของประชาชนต้องดำเนินการแก้กฎหมาย
- แนวทางที่สอง เมื่อเกิดปัญหาที่จำเป็นต้องพึ่งทนายความอาสา หรือทนายความขอแรง หรือที่ปรึกษากฎหมายเด็กหรือเยาวชน ทนายความในส่วนนี้จะต้องเข้าไปอำนวยความยุติธรรมอย่างเต็มที่ตามแนวทางการปฏิรูปทนายความอาสา ทนายความขอแรง และที่ปรึกษากฎหมายเด็กหรือเยาวชน ของรัฐ
- แนวทางที่สาม การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อทำการศึกษาว่ากฎหมายใดที่เป็นการริดรอนสิทธิของประชาชนต้องดำเนินการแก้กฎหมาย
ไม่มีความคิดเห็น